ศาสนา (อังกฤษ: Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิด ความเป็นไป และสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม หลักธรรมคำสอน ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ[1] หลายศาสนามีการบรรยายสัญลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาล ธรรมชาติ มนุษย์ และศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายหรือวิถีชีวิต มีการประมาณว่าน่าจะมีความเชื่อเชิงศาสนาราว 4,200 ความเชื่อในโลก โดยพิจารณาตามจำนวนประมาณการของกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าต่างๆ ตลอดเวลาในช่วงที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หลายศาสนาส่วนใหญ่กลายเป็นศาสนาที่ตายแล้วเพราะไม่มีคนนับถือแล้ว เเต่ในปัจจุบันมีศาสนาหลักที่มีประชากรโลกนับถือเป็นอย่างมากทั้งหมด 4 ศาสนาได้เเก่ ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ [2] ศาสนาต่างๆล้วนมีอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ตลอดจนเเนวคิดเเละหลักความเชื่อของบุคคลต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสนา[3]
- ศาสนาคริสต์ ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในฝั่งตะวันตก คือ ทวีปยุโรป, ทวีปเเอฟริกา และ ทวีปอเมริกา โดยเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมในระดับสากล
- ศาสนาอิสลาม ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน เอเชียกลาง (แถบอาหรับ-เปอร์เซีย) เช่น ตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ซาอุดิอาระเบีย, เยเมน, ปากีสถาน และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเเถบ อินโดนีเซีย
- ศาสนาฮินดู ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน อนุทวีปอินเดีย ในเเถบ อินเดีย, ภูฏาน และ เนปาล เป็นต้น
- ศาสนาพุทธ ผู้นับถือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในฝั่งตะวันออก คือ ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก เเละเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ไต้หวัน, ไทย, ศรีลังกา, ลาว, เมียนมาร์ และ กัมพูชา เป็นต้น
ความหมายเชิงศัพทมูลวิทยา
สำหรับบางภาษา มีการใช้คำว่าศาสนาแตกต่างกันออกไป และบางภาษาไม่มีคำว่าศาสนาโดยสิ้นเชิง เช่นภาษาสันสกฤต ใช้คำว่า ธรรมะ (dharma) อาจใช้เทียบเคียงกับศาสนาได้ แต่มีความหมายโดยทั่วไปว่ากฎหมาย
การกำเนิดและการพัฒนา
การกำเนิดของศาสนานั้นไม่แน่นอน มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับจุดกำเนิดของวัตรศาสนาจัดตั้ง (Organised Religious Practice)
จอห์น มอนาแกน และปีเตอร์ จัสต์ นักมานุษยวิทยา กล่าวว่า "ศาสนาใหญ่ของโลกหลายศาสนาดูเริ่มต้นเป็นขบวนการคืนชีวิต (Revitalisation) บางแบบ โดยวิสัยทัศน์ของศาสดาผู้เปี่ยมบารมีจุดจินตนาการของผู้แสวงคำตอบครอบคลุมยิ่งขึ้นของปัญหาของเขามากกว่าที่รู้สึกว่าความเชื่อประจำวันให้ได้ ปัจเจกบุคคลผู้มีบารมีอุบัติขึ้นหลายกาละและเทศะในโลก ดูเหมือนว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จระยะยาว และหลายขบวนการมาแล้วไปโดยมีผลระยะยาวเล็กน้อย สัมพันธ์กับศาสดาน้อย ซึ่งปรากฏด้วยความสม่ำเสมอน่าประหลาดใจ แต่สัมพันธ์มากกว่ากับพัฒนาการของกลุ่มผู้สนับสนุนซึ่งสามารถจัดตั้งขบวนการนั้นเป็นสถาบัน"
การพัฒนาศาสนามีหลายแบบในหลายวัฒนธรรม บางศาสนาเน้นความเชื่อ ฝ่ายบางศาสนาเน้นวัตร บางศาสนาเน้นประสบการณ์อัตวิสัยของศาสนิกชน ฝ่ายบางศาสนาถือกิจกรรมของชุมชนศาสนาสำคัญที่สุด บางศาสนาอ้างว่าเป็นนสากล โดยเชื่อว่ากฎหมายและจักรวาลวิทยาของศาสนานั้นผูกมัดทุกคน ฝ่ายบางศาสนาตั้งใจให้ปฏิบัติเฉพาะในกลุ่มนิยามหรือจำกัดแคบ ๆ ในหลายพื้นที่ ศาสนาสัมพันธ์กับสถาบันสาธารณะอย่างการศึกษา โรงพยาบาล ครอบครัว รัฐบาลและลำดับชั้นบังคับบัญชาทางการเมือง
กลุ่มศาสนา
ศาสนาอับราฮัม
เป็นคำที่ใช้เรียกศาสนาสำคัญ 4 ศาสนาที่เป็นลัทธิเทวนิยมที่มีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว —ซึ่งทั้งสี่ศาสนานับอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนา
ศาสนาแบบอิหร่าน
ศาสนาแบบอินเดีย
ศาสนาเอเชียตะวันออก
ศาสนาแบบจีน
ศาสนาแบบญี่ปุ่น
ศาสนาแบบแอฟริกัน
อ้างอิง
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1142
- ↑ The Everything World's Religions Book: Explore the Beliefs, Traditions and Cultures of Ancient and Modern Religions, page 1 Kenneth Shouler - 2010
- ↑ "สภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต" (PDF). สารสถิติ. ปีที่ 23 (เล่มที่ 4): 6. ตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2559.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Religiously Unaffiliated, สืบค้น 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
- ↑ [1] Religion